วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

ออกซิเจน

ออกซิเจน






รูปภาพ
ออกซิเจน(Oxygen)
 

              ออกซิเจน (อังกฤษ: Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่นๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพืช

 


 แหล่งกำเนิด

             ออกซิเจน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญและมีปริมาณเป็นอันดับ 2 ในส่วนประกอบของบรรยากาศโลกคือมีประมาณ 20.947% โดยปริมาตร

 สารประกอบออกซิเจน

          เนื่องด้วยค่า อิเล็กโตรเนกาติวิตี ของออกซิเจน จะเกิด พันธะเคมี กับธาตุอื่นๆ ได้เกือบหมด (และนี่คือจุดเริ่มต้นของคำจำกัดความว่า ออกซิเดชัน) มีเพียงก๊าซมีตระกูลเท่านั้นที่หนีรอดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันไปได้ และออกไซด์ที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือ ไดไฮโดรเจนโมโนออกไซด์ หรือ น้ำ (H2O).
ตัวอย่างที่รู้จักกันดีของสารประกอบคาร์บอนและออกซิเจนคือ
 ออกซิเจเนต อนุมูล เช่น



ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%99

วันที่ 1 มกราคม  2556

ทับทิม

ทับทิม






ชื่อวิทยาศาสตร์ : Punica granatum L.
ชื่อสามัญ : Pomegranate , Punica apple
วงศ์ : Punicaceae
ชื่ออื่น : พิลา (หนองคาย) พิลาขาว มะก่องแก้ว (น่าน) มะเก๊าะ (เหนือ) หมากจัง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น หรือพรรณไม้พุ่ม ขนาดเล็ก ลักษณะผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ส่วนที่เป็นกิ่งหรือยอดอ่อนจะเป็นเหลี่ยม หรือ มีหนามแหลมยาวขึ้น ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรี โคนใบมน แคบ ส่วนปลายใบเรียวแหลมสั้น ผิวหลังใบ เกลี้ยงเป็นมัน ใต้ท้องใบจะเห็นเส้นใบได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1 - 1.8 ซม. ยาว ประมาณ 2.5 - 6 ซม. ดอก ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็น ดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบ ดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 ซม. ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้าง กลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือ สุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผล จะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็น จำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด ดอก ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็น ดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบ ดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 ซม. ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้าง กลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือ สุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผล จะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็น จำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด
ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก เปลือกผลแห้ง เปลือกต้นและเปลือกราก เมล็ด
สรรพคุณ :
  • บ - อมกลั้วคอ ทำยาล้างตา
  • ดอก - ใช้ห้ามเลือด
  • เปลือกและผลแห้ง
    - เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน แก้บิด
    - แก้โรคลักกะปิดลักกะเปิด
  • เปลือกต้นและเปลือกราก
    - ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด , พยาธิตัวกลม
  • เมล็ด - แก้โรคลักกะปิดลักกะเปิด
วิธีและปริมาณที่ใช้
  1. ถ่ายพยาธิตัวตืดและพยาธิตัวกลม ได้ผลดีใช้เปลือกสดของราก , ต้น ที่เก็บใหม่ๆ 60 กรัม หรือประมาณ 1/2 กำมือ เติมกานพลูหรือกระวานลงไปเล็กน้อย เพื่อแต่งรส ต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 1/2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ (30 ซี.ซี.) หลังจากนั้นประมาณ 2 ชั่วโมง รับประทานยาถ่าย เช่น ดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะตาม ควรอดอาหารก่อนรับประทานยา
  2. ยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน (ไม่ใช่บิด หรือ อหิวาตกโรค)
    ใช้เปลือกผล ตากแดดให้แห้ง ประมาณ 1/4 ของผล ฝนกับน้ำฝนหรือน้ำปูนใสให้ข้นๆ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง หรือต้มกับน้ำปูนใส แล้วดื่มน้ำที่ต้มก็ได้
  3. บิด (มีอาการปวดเบ่ง และมีมูก หรืออาจมีเลือดด้วย)
    ใช้เปลือกผลแห้งของทับทิม ครั้งละ 1 กำมือ (3-5 กรัม) ต้มกับน้ำ ดื่มวันละ 2 ครั้ง อาจใช้กานพลูหรืออบเชยแต่งกลิ่นให้น่าดื่มก็ได้

    วันที่ 1 มกราคม 2556

    ระบบทางเดินหายใจ


                                                          
                                              
                                                                1.1รูประบบทางเดินหายใจ


               ระบบทางเดินหายใจมีหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซให้กับสิ่งมีชีวิต ในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมระบบทางเดินหายใจประกอบไปด้วย จมูกหลอดลม ปอด และกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจ ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกแลกเปลี่ยนที่ปอดด้วยกระบวนการแพร่
    สัตว์ประเภทอื่นๆ เช่น แมลงมีระบบทางเดินหายใจที่คล้ายคลึงกับมนุษย์แต่มีลักษณะทางกายวิภาคที่ง่ายกว่า ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำผิวหนังของสัตว์ก็ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซได้ด้วย พืชก็มีระบบทางเดินหายใจเช่นกัน แต่ทิศทางการแลกเปลี่ยนก๊าซเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับสัตว์ ระบบแลกเปลี่ยนก๊าซของพืชประกอบไปด้วยรูเล็กๆ ใต้ใบที่เรียกว่าปากใบ


    ระบบทางเดินหายใจแบ่งตามโครงสร้าง

    ระบบทางเดินหายใจส่วนบน (upper respiratory tract, URI) : ประกอบด้วยอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหายใจเหนือกล่องเสียงขึ้นไป ได้แก่ จมูก, คอหอย เป็นต้น โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจส่วนบนเช่น URI infection หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
    ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง (lower respiratory tract, LRI) : ประกอบด้วย กล่องเสียง, หลอดคอ, หลอดลมใหญ่ และปอด



    ระบบทางเดินหายใจแบ่งตามหน้าที่

    หน้าที่นำอากาศ : มีหน้าที่นำอากาศจากภายนอกเข้าสู่ปอด เป็นทางผ่านเข้าออกของอากาศเท่านั้น ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนแก๊ส ได้แก่ จมูก, คอหอย, กล่องเสียง, หลอดคอ, หลอดลมใหญ่, หลอดลมฝอย, และปลายหลอดลมฝอย
    หน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส : เป็นบริเวณที่แลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สออกซิเจนกับเนื้อเยื่อ ได้แก่ หลอดลมฝอยแลกเปลี่ยนแก๊ส, ท่อลม, ถุงลม, ถุงลมฝอย
    กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ

    กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจของมนุษย์ เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่รอบผนังทรวงอก โดยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากตามปกติแล้วปอดไม่ให้สามารถขยายขนาดเพื่อรับอากาศจากการหายใจได้เอง แต่จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยแรงของกล้ามเนื้อเหล่านี้เพื่อขยายผนังของทรวงอกให้กว้างมากขึ้น และเกิดการลดลงของความดันภายในทรวงอกมากพอจนทำให้อากาศจากภายนอกไหลเข้าสู่ปอดได้ โครงสร้างหลักของผนังทรวงอกได้แก่
    ซี่โครง
    กล้ามเนื้อที่ยึดระหว่างซี่โครง (intercostal muscles) ซึ่งมี 2 ชั้นคือ ชั้นนอก (External) ชั้นใน (Internal) และชั้นในสุด (innermost)
    กล้ามเนื้อกะบังลม และเนื้อเยื่อที่ห่อหุ้มด้านในของผนังทรวงอก เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด (Pleura) ซึ่งมีอยู่ 2 ชั้นคือ ชั้นนอก (Parietal pleura) และชั้นใน (Visceral pleura) กล้ามเนื้ออื่น ๆ ที่มีส่วนช่วยในกระบวนการหายใจ ได้แก่ กล้ามเนื้อท้อง กล้ามเนื้อรอบกระดูกหน้าอก กล้ามเนื้อบริเวณไหปลาร้าและต้นคอ (Sternocleidomastoid และ Scalenus)





     
     
     
    ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%88

    วันที่ 1 มกราคม พศ.2556

    วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

    เรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยม





     โครงงานวิทยาศาสตร์ คุณครู  อรพิน อินทรโฆษิต รร.ชลบุรี "สุขบท"จังหวัดชลบุรี

                      เป็นโครงงานที่รุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จด้วยโครงงานวิทย์ ผลักดัน วิธีการทำวิจัย ให้รุ่นน้อง โดยผ่าน โครงงานวิทย์ฯ ที่รุ่นพี่ในอดีตประสบความสำเร็จ  และเพื่อให้รุ่นน้อง เกิดแรงจูงใจ และมีเป้าหมายในการทำโครงงานวิทย์   ที่จะประสบความสำเร็จตามรุ่นพี่ได้ ด้วยวิธีการทำโครงงานวิทย์และเรียนรู้เข้าใจอย่างถูกต้องและได้ทักษะในการวิเคราะห์ ทักษะการคิด ทักษะในการทำงานและทักษะกระบวนการกลุ่มสิ่งเหล่านี้เป็นการนำมาบูรณาการกันที่สามารถพัฒนานักเรียนได้

      ที่มา :http://www.thaiteachers.tv/video_list_grp.php?tag=3
      เมื่อวันที่  2 มีนาคม   2556

    พัฒนาครู นักศึกษาครู ครูใหม่

    video

     
                วีดีโอของครู ผศ.ดร.อารี หลวงนา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
    จะเห็นได้ว่า โทรทัศน์ครู เป็นอาวุธที่สำคัญในการพัฒนาวิชาชีพครู โดยปัจจุบันอาจารย์ทุกท่านนำไปใช้เป็นสื่อการสอนในวิชาของตนเอง  เพื่อนำเข้าไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนให้ได้คุณภาพมากขึ้นกว่าเดิม  ซึ่งเราสามารถนำตัวอย่างนี้มาปฎิบัติได้เพราะอนาคตเราก็ประกอบวิชาชีพครูเช่นกัน



    ที่มาhttp://www.cued-ttv.net/index.php
     
    เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2556

    เรื่อง ความแข็งของวัสดุ ระดับประถมศึกษา

     

    video



           จากการได้ชมเรื่อง ความแข็งของวัสดุ คุณครูอาทิตยา นุราฤทธิ์ รร.อนุบาลปรินายก
    เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วัสดุในชีวิตประจำวัน ซึ่งจำแนกได้เป็นวัสดุธรรมชาติ และวัสดุสังเคราะห์ สมบัติของวัสดุในด้านความแข็ง และการใช้ประโยชน์ โดยศึกษาด้วยการใช้วิธีการสืบสอบ เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง และการใช้คำถาม และประเมินตามสภาพจริง โดยมีการนำเข้าสู่บทเรียน และที่สำคัญคือครูต้องโยงให้นักเรียนเห็นว่านำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร ทั้งประโยชน์ ทั้งโทษ จัดลำดับการเรียนได้ต่อเนื่อง ทำให้ครูได้เห็นภาพตัวอย่างการสอนวิทยาศาสตร์ ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจนซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากค่ะ
    เมื่อวันที่  2 มีนาคม2556